top of page
01111.png
หน้าหลัก: Welcome
หน้าหลัก: Products

วิวัฒนาการของบุหรี่

Timeline

Maya

3000 ปี : ชนเผ่ามายา (Maya)

หลักฐานในศิลาจารึกที่มีอายุกว่า 3 พันปี ของชนเผ่ามายา (Maya) ในสมัยรุ่งเรืองอำนาจแถบทวีปอเมริกากลาง เป็นหลักฐานที่ทำให้เราทราบว่า ได้มีการใช้ใบยาในพิธีทางศาสนาและใช้เป็นยารักษาโรคด้วย

ปีค.ศ. 1492 : เดินทางจากอเมริกาสู่ยุโรป

เมื่อโคลัมบัสและชาวยุโรปอื่นค้นพบทวีปอเมริกา และพบกับชนเผ่าอินเดียนแดง ในอเมริกาเหนือนั้น มีการเอาไม้รวกซึ่งข้างในกลวงอัดใบยาเข้าไปแล้วสูบ พวกเขาเรียกไม้รวกนี้ว่า โทบาคุม (Tobacum) ได้ทดลองสูบยาสูบและมีความพึงพอใจในรสชาติ จึงได้นำไปเผยแพร่ในยุโรป

ปี ค.ศ. 1560 : นิโคติน

ทูตฝรั่งเศสประจำประเทศสเปนชื่อ จอง นิโคต์ (Jean Nicot) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “นิโคติน” และเซอร์วอลเตอร์ ลาเรจ์ นำมาจากทวีปอเมริกามาเผยแพร่ในอังกฤษ มีการเผยแพร่ความรู้ผิด ๆ เกี่ยวกับการสูบบุหรี่หรือใบยาสูบว่ามีคุณประโยชน์

ปี ค.ศ. 1604 : ภาษียาสูบ

พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งประเทศอังกฤษ ทรงตั้งภาษีใบยาไว้อย่างสูง เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า ใบยาเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เสพทั้งทางกายและทางใจเป็นอย่างยิ่ง

ปี ค.ศ. 1630 : ยาสูบกับข้อห้ามในจีน

จีนห้ามสูบใบยาอย่างเด็ดขาด เหตุผลเพราะว่ายาสูบทำให้คนจีนมัวเมากันมาก

ปี ค.ศ. 1660 : ความแพร่หลายของยาสูบ

บุหรี่ก็ถูกนำไปเผยแพร่ต่อไปในประเทศอิตาลี เยอรมัน นอร์เวย์ สวีเดน รัสเซีย เปอร์เชีย  อินโดจีน ญี่ปุ่น จีน และชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา หลังจากนั้น บุหรี่หรือซิกาแรตก็เริ่มแพร่หลายในระยะสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้การสูบบุหรี่เป็นที่นิยมทั่วโลก

ปี ค.ศ. 1668 = พ.ศ. 2211 : ยาสูบในประเทศไทย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยชาวเปอร์เซียเป็นผู้นำเข้ามา จึงมีการสูบในลักษณะใบยาหั่นมวนด้วยใบตองหรือใบบัว หากสูบจากกล้อง หรือทำเป็นมวนใหญ่แบบซิการ์ หรือเคี้ยวเส้นยาสูบ หรือบางทีก็ป่นเป็นผงสูดเข้าจมูกแบบยานัตถุ์

ปี ค.ศ. 1881 : ที่มาของซิกาแรต

อัจฉริยะชาวอเมริกันคนหนึ่งนามว่า เจมส์ บอนแสค (James Bonsack) เขาสามารถประดิษฐ์เครื่องมวนใบยาด้วยกระดาษจนได้มาตรฐานอย่างอัตโนมัติได้ เขานำเครื่องจักรนี้ไปขายให้บริษัทผลิตใบยาท้องถิ่นแห่งหนึ่ง และบริษัทนั้นก็ได้ผลิตใบยาที่ห่อด้วยกระดาษออกมาอย่างรวดเร็วและมากมาย ทางบริษัทเรียกผลิตภัณฑ์นี้ว่า "ซิกาแรต" คือ ซิการ์มวนน้อย ๆ

ปี ค.ศ. 2004 : ยุคใหม่ของบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า ถูกคิดค้นขึ้นและได้จด สิทธิบัตรครั้งแรกในประเทศจีน และมาเปิดตัวในประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 2007 และเริ่มเผยแพร่เข้าสู่ประเทศ อื่น ๆ บุหรี่ไฟฟ้ามีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากบุหรี่ ทั่วไป โดยออกแบบให้มีกายภาพเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ชาร์จไฟ ได้ด้วยกระแสไฟฟ้า สามารถนำมาใช้งานแล้วเกิดควัน มีรสชาติ และกลิ่นที่หลากหลาย

Columbus

Nicotine

TAX

World

Wide

Cigarettes

Electric

ที่มา: ความเป็นมา วิวัฒนาการของยาสูบและบุหรี่. (2551). สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/hikaru/2008/01/20/entry-2

Untitled-2.png
bouncing-arrow.gif
01_edited.png
0000000.png

ส่วนประกอบของบุหรี่

ภายนอก

01.png
tobacco.png

 

ใบยาสูบที่ผ่าน

กระบวนการทางเคมี

และมีการเพิ่มสารต่าง ๆ

 ใบยาสูบ (Tobacco) 

paper.png

ม้วนรอบตัวกรอง

และใบยาสูบ

ความยาว

ไม่เกิน 120 มม.

 กระดาษ

filter.png

มีเซลลูโลสอะซีเตล

เป็นส่วนประกอบหลัก

ทำหน้าที่กรองควันบุหรี่

และ TAR (น้ำมันดิน)

 ตัวกรอง 

ภายใน

nicotine.png

สารที่ทำให้คนติดบุหรี่ กระตุ้นและกดประสาท เข้าไปจับตัวอยู่ที่ปอด

ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว

Nicotine (นิโคติน)

ก๊าซที่เกิดจากกระบวนการ
เผาไหม้
ที่ไม่สมบูรณ์
ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้ ส่งผลให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

Carbon Monoxide 

(คาร์บอนมอนอกไซด์)

2.png
3.png

สารประกอบในน้ำยาล้างเล็บ
ก่อให้เกิดการระคายเคือง

จากการสูดดม และมีผลต่อเซลล์ตับ ทำให้เซลล์ตับตายได้ 

Acetone (อะซิโตน)

4.png

 

พบได้ในแบตเตอรี่

ส่งผลกระทบต่อตับ ไต และสมอง ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมาก

Cadmium

(แคดเมียม)

1.png

 

มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อทำให้แสบตา แสบจมูก หากได้รับบ่อยจะทำให้หลอดลมอักเสบ มีอาการไอและเสมหะมาก

Ammonia 

(แอมโมเนีย)

laboratory.png

สารที่ใช้ดองศพ (ฟอร์มาลีน)

เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุตา และอาจก่อให้เกิดการภูมิแพ้รุนแรง

Formaldehyde 

(ฟอร์มาลดีไฮล์)

ก๊าซพิษที่สามารถ

ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลม

ส่วนต้น ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำ

Hydrogen Cyanide 

(ไฮโดรเจนไซยาไนด์)

6.png
5.png

 

ก๊าซพิษที่สามารถ
ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลม ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง

Nitrogen Dioxide

(ไนโตรเจนไดออกไซด์)

7.png

สารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในหลายส่วนของร่างกาย เช่น
มะเร็งปอด กล่องเสียง

หลอดลม หลอดอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ และอื่น ๆ

Tar 

(ทาร์ / น้ำมันดิบ)

สารก่อให้เกิดมะเร็ง มีผลต่อหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ทำให้การได้ยินผิดปกติ และระบบสืบพันธุ์ในผู้ใหญ่ ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมได้

Lead 

(ตะกั่ว)

8.png
9.png

มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร และเชื่อมโยงกับภาวะหัวใจขาดเลือด

Arsenic 

(สารหนู)

10.png

ในควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม 210 (Polonium-210)
ที่มีรังสีอัลฟาอยู่ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

Radioactive Agents

(สารกัมมันตรังสี)

หน้าหลัก: Products
หน้าหลัก: Pro Gallery
หน้าหลัก: แฟ้มผลงาน
แถวของซิการ์

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง

วิดีโอเพิ่มเติม

คลิก

Logo-thaihealth_Thai_with_Text.png
tap.png

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

หน้าหลัก: HTML Embed

เกร็ดความรู้

บุหรี่ช่วยให้สมองแล่น
บุหรี่ช่วยลดความอ้วน
บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่
โอเคซิกาแร็ต1
สูบบุหรี่ดีกว่าดื่มเหล้า
เลิกบุหรี่
โอเคซิกาแร็ต2
bottom of page